วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจับคอร์ดกีต้าร์คลาสิค




วิธีอ่านแทปแทป (Tab หรือ Tablature) คือ สัญลักษณ์ที่ใช้จดบันทึกเสียงทางดนตรี สำหรับเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายกีต้าร์ เช่น แบนโจ (Banjo) หรือ เบส (Bass) โดยแทป (Tab) นั้นได้พัฒนามาจากโน้ตดนตรีสากล แต่จะอ่านง่ายกว่า สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว ทั้งยังบอกถึงตำแหน่งนิ้วบนคอกีต้าร์ได้ดีกว่าโน้ตดนตรีสากลอีกด้วยแทป (Tab) มีวิธีการบันทึกได้ 2 แบบ คือ แทป (Tab) แบบมือขวา และ แทป (Tab) แบบมือซ้าย ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้ผู้อ่านนั้นได้รับรู้ถึงเรื่องอะไรแทป (Tab) มือขวา บอกตำแหน่งของนิ้วมือขวาที่ใช้ดีดสายกีต้าร์ต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าต้องดีดเส้นไหนบ้างหรือเกาสายกีต้าร์เส้นไหนบ้าง รูปแบบใดแทป (Tab) มือซ้าย บอกวิธีการจับคอร์ดว่าต้องจับอย่างไรบ้าง เนื่องจากบางเพลงอาจจะต้องจับคอร์ดที่ยากกว่าปกติ หรือเป็นลูกเ่ล่นเพิ่มเติมในการเกาหรือดีดเพลงนั้น ๆ และเพลงที่เน้นการวางนิ้วมือบนคอกีต้าร์และการเคลื่อนที่ของนิ้วมือซ้าย ตามอารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น เพลงคลาสสิค เพลงบรรเลงด้วยกีต้าร์ตัวอย่างโน้ตแทป


C D---------------------------------------2-------------- สายที่ 1 ของกีต้าร์ หรือสายล่างสุด (เสียงแหลมสุด)


------------1-----1--------------2---------2--------- สายที่ 2 ของกีต้าร์


---------0-----0-----0--------3----3----3----3------ สายที่ 3 ของกีต้าร์


------2---------------------0------------------------- สายที่ 4 ของกีต้าร์


---3-------------------------------------------------- สายที่ 5 ของกีต้าร์


------------------------------------------------------ สายที่ 6 ของกีต้าร์ หรือสายบนสุด (เสียงทุ้มสุด)


จากตัวอย่างข้างบนการอ่านโน้ตแทปก็คือ ให้ดูจากคอร์ดด้านบนก่อนว่าเป็นคอร์ดอะไร ให้จับคอร์ดตามนั้นจากนั้นตัวเลขที่เห็นก็คือ เฟรตหรือช่องบนคอกีต้าร์ที่ใช้นิ้วกดลงไป ซึ่งหากตัวเลขอยู่บนสายไหนก็ให้ดีดสายนั้นๆจากตัวอย่าง เลข 3 อยู่บนสายที่ 5 ให้กดเฟรตที่ 3 ของสายที่ 5 และดีดสายที่ 5 เป็นอันจบโน้ตตัวแรกตัวถัดไปเป็นเลข 2 ให้กดเฟรตที่ 2 ของสายที่ 4 และดีดสายที่ 4 ก็จะจบโน้ตตัวที่ 2 หากเป็นเลข 0 ก็คือดีดสายเปล่าๆ โดยไม่ต้องกดอะไรเลยเป็นไงบ้างครับเพื่อนๆ คงไม่ยากสำหรับมือใหม่นะครับ ยังไงก็ลองฝึกแกะแทปจากเพลงช้าๆ แนวอคูสติคกันดูนะครับค่อยๆ ฝึกกันครับ ถ้าเพื่อนๆ เล่นแทปกันคล่องแล้ว เดี๋ยวผมจะหาแทปมาลงในเว็บให้เยอะๆ ครับ ส่วนการถามตอบก็ไว้ไปถามกันบนเว็บบอร์ดได้เลยนะครับ เผื่อว่าจะมีเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ เข้ามาตอบกันครับวิธีการหัดเล่นกีต้าร์ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อนซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ดังนี้บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มันไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกดไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่นฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุดการหัดไล่ scale กีต้าร์ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือการหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กันทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์ การจับคอร์ดกีต้าร์การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสารมีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะครับ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ๋มน้ำปลาทั้งนั้นในที่นี้ผมจะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าคุณรู้วิธีหล่าวนี้แล้ว คุณก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับจากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุดเส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆส่วนรูปด้านขวานี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อยตัวเลขต่างๆ หล่าวนี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหรแต่ถ้าคุณเริ่มที่จะเล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และคุณลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง คุณก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่...สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับภาพคอร์ดกีต้าร์

การใส่คอร์ดกีต้าร์คลาสิค







ประวัติกีต้าร์คลาสิค

ประวัติกีตาร์คลาสสิค
กีตาร์คลาสสิคเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าห้าศตวรรษ กล่าวคือยังมีบทเพลงย้อยหลังไปกว่า 500 ปี (คศ.1500) ที่ยังนำมาใช้เรียน เล่นและแสดงกันถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าความนิยมของกีตาร์คลาสสิคได้ลดน้อยถอยลงไปในกลางศตวรรษที่ 19 (1850) เนื่องจากกระแสความนิยมของ เปียโนฟอร์เต้ ได้เข้ามาแทนที่ในสำนักพระราชวังของเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในยุโรป อย่างไรก็ดี กระแสของกีตาร์คลาสสิคก็ได้กลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อ อังเดร เซโกเวีย ได้ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมอีกครั้งไปทั่วโลก ในปัจจุบันกีตาร์คลาสสิคได้มีการพัฒนาวิธีและเทคนิคการเล่นมากขึ้นกว่าเมื่อหลายสิบปีที่แล้วมาก รวมทั้งมีบทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่หรือเพิ่งจะค้นพบจากที่ต่างๆ มากมาย เนื่องจากถูกเก็บเอาไว้ในกรุอยู่เป็นร้อยปี ส่วนในด้านการทำกีตาร์ ก็มีช่างทำกีตาร์หรือ Luthier จำนวนหลายร้อยคนทั่วโลก ส่วนมากยังทำตามแบบอย่างของ ทอร์เรส ช่างทำกีตาร์ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่สามารถออกแบบกีตาร์จนเป็นมาตรฐานจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการพยายามคิคค้นหาวิธีใหม่ๆ เพื่อทำให้กีตาร์มีเสียงที่ดีและดังขึ้น บ้างก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง บ้างก็ล้มเหลว แต่ก็ยังมีปรากฎออกมาให้เห็นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ยังไม่สิ้นสุดของการทำกีตาร์ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาจะมีภาควิชากีตาร์คลาสสิคอยู่ และมีจำนวนไม่น้อยที่สอนกันจนถึงระดับปริญญาเอก (Guitar Performance) สถาบันดนตรีชั้นนำของอังกฤษ แคนนาดา และออสเตรเรียน ก็มีการสอบเกรด ดังเช่นเครื่องดนตรีคลาสสิคอื่นๆ มีนักกีตาร์ที่มีชื่อเสียงออกเดินทางไปแสดงทั่วโลกประวัติกีตาร์คลาสสิค
กีตาร์คลาสสิคเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าห้าศตวรรษ กล่าวคือยังมีบทเพลงย้อยหลังไปกว่า 500 ปี (คศ.1500) ที่ยังนำมาใช้เรียน เล่นและแสดงกันถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าความนิยมของกีตาร์คลาสสิคได้ลดน้อยถอยลงไปในกลางศตวรรษที่ 19 (1850) เนื่องจากกระแสความนิยมของ เปียโนฟอร์เต้ ได้เข้ามาแทนที่ในสำนักพระราชวังของเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในยุโรป อย่างไรก็ดี กระแสของกีตาร์คลาสสิคก็ได้กลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อ อังเดร เซโกเวีย ได้ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมอีกครั้งไปทั่วโลก ในปัจจุบันกีตาร์คลาสสิคได้มีการพัฒนาวิธีและเทคนิคการเล่นมากขึ้นกว่าเมื่อหลายสิบปีที่แล้วมาก รวมทั้งมีบทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่หรือเพิ่งจะค้นพบจากที่ต่างๆ มากมาย เนื่องจากถูกเก็บเอาไว้ในกรุอยู่เป็นร้อยปี ส่วนในด้านการทำกีตาร์ ก็มีช่างทำกีตาร์หรือ Luthier จำนวนหลายร้อยคนทั่วโลก ส่วนมากยังทำตามแบบอย่างของ ทอร์เรส ช่างทำกีตาร์ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่สามารถออกแบบกีตาร์จนเป็นมาตรฐานจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการพยายามคิคค้นหาวิธีใหม่ๆ เพื่อทำให้กีตาร์มีเสียงที่ดีและดังขึ้น บ้างก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง บ้างก็ล้มเหลว แต่ก็ยังมีปรากฎออกมาให้เห็นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ยังไม่สิ้นสุดของการทำกีตาร์ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาจะมีภาควิชากีตาร์คลาสสิคอยู่ และมีจำนวนไม่น้อยที่สอนกันจนถึงระดับปริญญาเอก (Guitar Performance) สถาบันดนตรีชั้นนำของอังกฤษ แคนนาดา และออสเตรเรียน ก็มีการสอบเกรด ดังเช่นเครื่องดนตรีคลาสสิคอื่นๆ มีนักกีตาร์ที่มีชื่อเสียงออกเดินทางไปแสดงทั่วโลก

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รู้จักคอร์ดกีต้าร์เบื้องต้น

คอร์ด คือกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งถ้าเราจะถามว่ามีคอร์ดกีตาร์ทั้งหมดกี่คอร์ดในโลกนี้ คงจะไม่มีใครตอบได้เนื่องจากเราสามารถสร้างคอร์ดได้มากมายเหลือเกินแล้วแต่ผู้ประพันธ์แต่ละคน แต่เราก็สามารถจำแนกคอร์ดให้เป็นประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญและพบบ่อย ๆ ได้ เช่น คอร์ดเมเจอร์(major), คอร์ดไมเนอร์(minor) และคอร์ดเซเว่น(7) เป็นต้น คราวนี้เราจะมารู้จักการเรียกชื่อคอร์ดแต่ละประเภท

คอร์ดการเรียกชื่อ(สากล)การเรียกชื่อ(ชาวบ้าน)
%mojorเรียกแต่ชื่อคอร์ด (เช่นคอร์ดซีเมเจอร์ เรียกคอร์ดซี)
%m minorไมเนอร์
%7 seventhเซเว่น (เจ็ด)
%m 7minor seventhไมเนอร์ เซเว่น (หรือไมเนอร์ เจ็ด)
%6 sixthซิก (หก)
%m 6minor sixthไมเนอร์ ซิก (หรือไมเนอร์ หก)
% dim diminishedดิม
%+augmentedออกเมนเต็ด (บวก)
%7sus 4seventh suspension fourเซเว่น ซัส โฟ
%sus suspensionซัส
%7+5 seventh augmented fifthเซเว่น ออกเมนเต็ด ไฟว์
%7-5 seventh flat five เซเว่น แฟล็ท ไฟว์
%7-9 seventh flat nine เซเว่น แฟล็ท ไนน์
%maj7 mojor seventh เมเจอร์ เซเว่น
%m7-5 minor seventh flat five ไมเอนร์ เซเว่น แฟล็ท ไฟว์
%9 ninth ไนน์ (เก้า)
%m9 minor ninth ไมเนอร์ ไนน์ (ไมเนอร์ เก้า)
%9+5 ninth augmented fifth ไนน์ อ๊อกเมนเต็ด ฟิฟท์
%9-5 ninth flat five ไนน์ แฟล็ท ไฟว์
%maj9 major ninth เมเจอร์ ไนน์
%11 eleventh อีเลฟเว่น (สิบเอ็ด)
%11+ eleventh augmented อีเลฟเว่น อ๊อกเมนเต็ด (สิบเอ็ด บวก)
%13 thirteenth เธอทีน (สิบสาม)
%13b9 thirteenth flat ninth เธอทีน แฟล็ท ไนน์
%+7 augmented seventh อ๊อกเมนเต็ด เซเว่น (บวก เจ็ด)
%dim7 diminished seventh ดิม เซเว่น (ดิม เจ็ด)
%m+7 minor augmented seventh ไมเนอร์ อ็อกเมนเต็ด เซเว่น
%13sus4 thirteenth suspension four เธอทีน ซัส โฟร์ (สิบสาม ซัส โฟ)
%m (add 9) minor add ninth ไมเนอร์ แอ๊ด ไนน์
%(add 9) add ninth แอ๊ด ไนน์
%9sus ninth suspension ไนน์ ซัส
%4 fourth ninth โฟร์ ไนน์
9%+11 augmented eleventh อ็อกเมนเต็ด สิบเอ็ด
%7+9 seventh augmented ninth เซเว่น อ็อกเมนเต็ด ไนน ์
%+4 augmented fourth อ็อกเมนเต็ด โฟร์ (บวก สี่)

ประวัติกีต้าร์คลาสิค

กีตาร์คลาสสิก เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่ดีดด้วยนิ้วมือ มีพัฒนาการมาก่อนศตวรรษที่15 โดยพัฒนามาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วิเวลา(Vihuela)ซึ่งนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศสเปน ข้อแตกต่างของกีตาร์คลาสสิกกับกีตาร์ชนิดอื่น คือ ขนาดของคอกีตาร์ หรือ fingerboard ที่มีขนาดที่กว้างกว่ากีตาร์ชนิดอื่น และสายที่ทำด้วยไนล่อน หรือที่เรียกกันว่าสายเอ็น เพราะแต่เดิมใช้สายที่ทำมาจากเอ็นของสัตว์ กีตาร์อีกประเภทหนึ่งที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับกีตาร์คลาสสิก คือ กีตาร์ฟลาเมงโก (Flamenco Guitar) ส่วนประกอบที่สำคัญมีดังนี้
- ส่วนหัว (HEAD) เป็นไม้มีรูเจาะเป็นช่องยาว 2 ช่องในช่องยาวนี้จะมีแกนสำหรับใส่สายกีตาร์ ส่วนใหญ่เป็นพลาสติค หรือวัสดุจำพวกกระดูกและงาช้าง(ซึ่งจะมีราคาแผง)หรือแม้แต่แกนเหล็ก มีปลายยื่นออกมาด้านหลังเป็นลูกบิด 6 อัน ลูกบิดจะตั้งฉากกับพื้นเมื่อวางกีตาร์ในแนวนอน
- ส่วนคอ (NECK) กีตาร์คลาสสิกนั้นจะมีคอที่ใหญ่กว่ากีตาร์อื่น ๆ ไม้ส่วนคอจะตรงและมีขนาดเท่ากันตั้งแต่สวนบนสุดถึงล่างสุดของคอ จำนวนเฟร็ต ถ้านับจากจุดต่อลำตัวจะมี 12 เฟร็ต บริเวณฟิงเกอร์บอร์ต (FINGERBOARD จมีจุดบอกตำแหน่งเฟร็ตบริเวณสันคอกีตาร์แทนที่จะอยู่บนฟิงเกอร์บอร์ตเหมือนกีตาร์ทั่วไป
- ลำตัว (BODY) เป็นส่วนที่ยึดติดกับคอกีตาร์ ตั้งแต่เฟร็ตที่ 12 เข้ามาในกล่องเสียง (SOUND BOX) มีลักษณะ เรียบด้านหน้า มีรูกลมเป็นโพรงเสียงอยู่ต่อจากด้านล่างสุดของคอส่วนล่างของโพรงเสียงจะมีบริดจ์ (BRIDSE) ที่ยึดสายกีตาร์ไว้กับลำตัวด้านหน้า ข้อสังเกต กีตาร์คลาสสิกโดยมากจะใช้สายไนลอน สายเบส (4,5,6) จะเป็นสายที่พันด้วยเส้นโลหะเล็ก ๆ เช่น ทองแดง บรอนส์ ฯลฯ กีตาร์คลาสสิกนั้นให้เสียงในโทนพริ้วไหว สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการเล่นแล้ว กีตาร์คลาสสิกจะสามารถบันดาลเสียงทุกเสียงที่จะประกอบกันให้เป็นเพลงที่ไพเราะจับใจได้อย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนอง(MELODY)คอร์ด(CHORD) และเบสส์(BASS) ในการเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นผู้เล่นต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และเทคนิคมากมายซึ่งในการฝึกหัดนั้นต้องใช้ทั้งเวลา และความพยายามอย่างสูง มันจึงกลายเป็นดาบสองคมไปเลยในบางครั้ง คือ แทนที่จะช่วยให้ท่านได้พบกับความซาบซึ้ง และแตกฉานทางดนตรี มันกลับทำให้ท่านท้อแท้หรือมีอคติกับดนตรี (คลาสสิก) ไปเลยก็ได้ กีตาร์คลาสสิกจึงจัดได้ว่ามีความสมบูรณ์ในตัวมันเองจนมีผู้กล่าวว่าการเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นไม่ต่างอะไรไปกับการเล่นของวงออร์เคสต้าร์ขนาดย่อมๆเลยที่เดี่ยว
สำหรับประเทศไทยมีอาจารย์หลายท่านที่บรรเลงกีตาร์คลาสสิก และมีผลงานออกมาต่าง ๆ เช่น:-
กีตาร์คลาสสิกชุดลาวแพน โดย อ.กีรตินันท์ สดประเสริฐ ใช้ชื่อชุดว่า "ห้วงอารมณ์ 1" มีทั้งหมด 4 ชุด คือ ห้วงอารมณ์ 1-4 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "ภวังค์ 1-4"
กีตาร์ลายไทย ของ Bangkok Guitar Society เพลงไทยเดิมมาบรรเลงด้วยกีตาร์คลาสสิก โดย อ.กมล อัจฉริยะศาสตร์ เป็นผู้ริเริ่มจัดทำขึ้น
Oriental Expression ของ อ.เอกราช เจริญนิตย์

Classical Guitar
กีตาร์เป็นเครื่องสายประเภทดีด มีต้นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง กีตาร์เริ่มเป็น ที่รู้จักในประเทศสเปนเมื่อราวศตวรรษที่16 มีทั้งชนิด 6 สายที่เรียกว่า Vihuela, ชนิด 4 สายที่เรียกว่า Guitarra และชนิด 5 สายที่เรียกว่า Guitarra Espanola กีตาร์เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนอื่นๆ ในยุโรปในช่วง ปลายศตวรรษที่ 17 ในราชสำนักฝรั่งเศส เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่18 กีตาร์กลับมามี บทบาทในสังคมดนตรีตะวันตกอีกครั้ง หลังจากเสื่อมความนิยมไปชั่วขณะ ในยุค Baroque นั้น ลูท (Lute) เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมากกว่า ในยุค Baroque มีบทประพันธ์สำหรับกีตาร์เป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับลูท บทประพันธ์ของกีตาร์สมัยนั้นมักเป็นแค่ส่วนประกอบของการร้องเพลงเท่านั้น ต่อมาในยุคคลาสสิกมีการพัฒนารูปร่างกีตาร์ให้ดีขึ้น เอวของกีตาร์จะแคบขึ้นมี (Fret) จาก 10 เป็น 18 เฟรท ด้านข้างและด้านหลังของกีตาร์ทำด้วยไม้ Rosewood แทนที่จะเป็นไม้ Spruce อย่างเดิม รวมทั้งเปลี่ยนจากสายคู่ 5 สายมาเป็นสายเดี่ยว 6 สาย ส่วนขนาดนั้นยังคงใกล้เคียงกับสมัย Baroque กีตาร์ได้รับความสนใจมากขึ้น มีนักกีตาร์ที่มีฝีมือดีเยี่ยมและมีบทประพันธ์ทางด้านกีตาร์มากขึ้น ทั้งรูปแบบ Guitar Solo, Guitar Ensemble, Chamber Music, Guitar Concerto และอื่นๆ อีกมาก กีตาร์ในยุคคลาสสิกมีขนาดเล็กกว่าในปัจจุบัน มีเสียงเบากว่ารวมทั้งมีสายกีตาร์และเฟรทแคบกว่า ทำให้เหมาะกับเทคนิคการเล่นของมือซ้ายและเล่นง่ายกว่ากีตาร์ในปัจจุบัน แต่บางครั้งเมื่อนำบทประพันธ์ในยุคคลาสสิกมาเล่นกับกีตาร์ในปัจจุบันจะพบปัญหานิ้วเอื้อมไม่ถึงเฟรทที่ต้องการ วิธีแก้ปัญหาคือต้องหากีตาร์ที่มีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนแปลงนิ้วมือบางตำแหน่ง นักประพันธ์และนักกีตาร์ในสมัยคลาสสิก มักจะเป็นคน ๆ เดียวกัน